GoogleBlog "Art & Philosophy : ศิลปะกับปรัชญา"

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เพื่อใช้เสริมการเรียนการสอน รายวิชา 437-222 สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)

จัดทำโดย อาจารย์อันธิฌา ทัศคร
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

กรณีภาพ "ภิกษุสันดานกา" ภาพสะท้อนของศิลปะและสังคม






ภาพวาด "ภิกษุสันดานกา"
ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม จากการประกวดผลงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 ประจำปี 2550 ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าลบหลู่สถาบันสงฆ์ เช่นความเห็นของ “ ผศ.เสถียร วิพรมหา เลขาธิการเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ กล่าวว่า ภาพดังกล่าวไม่เหมาะสมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ทั้ง 2 รูป เอาหัวชนกัน หลับตา มีปากแหลมเหมือนปากของอีกา แสดงกิริยาแย่งด้ายสายสิญจน์และตะกรุดในบาตร สักยันต์รูปกบอยู่ในท่าผสมพันธุ์ ส่วนร่างกายของพระด้านขวา มีภาพตุ๊กแกอยู่ในท่ากำลังผสมพันธุ์ด้วย ในย่ามพระมีลูกกรอกแสดงถึงความเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยผู้หญิงกำลังทำท่าผสมพันธุ์อยู่”

ด้าน นายอนุพงษ์ จันทร ศิลปินเจ้าของผลงานวัย 27 ปี กล่าวว่า ผลงานดังกล่าว เป็นการนำเสนออีกมุมหนึ่งของสังคม เป็นธรรมดาที่จะมีทั้งคนที่ชอบ ไม่ชอบ เป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว แต่ยืนยันว่านับถือศาสนาพุทธ เจตนาการสร้างงาน จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีเจตนาทำลายศาสนา แต่เป็นการกระตุ้นเรื่องบาปบุญคุณโทษ โดยเอาสิ่งที่เกิดในสังคมจริงๆ มานำเสนอ เนื้อหาอาจจะแรงกระทบใจจากคนกลุ่มหนึ่ง เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกไม่ดี แต่ถ้ามองที่เจตนา จะเป็นตัวบอกจุดมุ่งหมายว่าทำไมศิลปินถึงสร้างงานแนวนี้ เป็นการสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นวิกฤติศรัทธา ความเชื่อมั่นในพระสงฆ์ปัจจุบัน มีมากน้อยขนาดไหน มีคนเคยเขียนถึงตรงนี้ พูดถึงตรงนี้ไว้มากมาย มีพระเขียนถึงพระเองก็มี รัชกาลที่ 6 ท่านเคยพระราชนิพนธ์ลงในเทศนาเสือป่า เกี่ยวกับปัญหาของพระสงฆ์เอาไว้ด้วยซ้ำ ในหลายๆ ที่ ก็เคยนำเสนอว่า พวกนอกรีต อาศัยศาสนาหากินนั้นมีบัญญติลงโทษเกี่ยวกับบาปกรรมอย่างไร ( เนื้อหาข่าวจาก คมชัดลึก)







ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของ อนุพงษ์ จันทร ศิลปินคนเดียวกันที่วาดภาพ "ภิกษุสันดานกา"














พระสงฆ์ มาชุมนุมประท้วงเพื่อขอให้ยุติการจัดแสดงภาพวาด "ภิกษุสันดานกา" เนื่องจากเห็นว่าเป็นภาพวาดที่ลบหลู่สถาบันสงฆ์ และทำร้ายจิตใจของพุทธศาสนิกชน

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หนูไม่อยากให้มองศิลปะในทางผิด อยากให้ภิกาุนำสิ่งเหล่านี้คอยระวังตัวเองไม่ให้ผิดศิล อยู่ในศิลในธรรม ศิลปะเช่นนี้เกิดขึ้นได้ก้เนื่องจากตัวภิษุบางท่าน ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย ควรนำไปสั่งสอนศิษไม่ให้หลงผิด คิด ชั่ว