GoogleBlog "Art & Philosophy : ศิลปะกับปรัชญา"

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เพื่อใช้เสริมการเรียนการสอน รายวิชา 437-222 สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)

จัดทำโดย อาจารย์อันธิฌา ทัศคร
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

แจ้งผลคะแนนรายวิชาที่สอนโดย อ.อันธิฌา 1/50

นักศึกษาตามรายวิชาต่อไปนี้ สามารถดูผลคะแนนและเกรด (อย่างไม่เป็นทางการ)
ในเว็บบล็อกได้ใน วันพุธ ที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป

(1) 438-327 Religions in Chaina Korea and Japan
(2) 437-428 Korean and Japanese Philosophy

หากใครต้องการสอบถามเพิ่มเติม (เรื่องการส่งงาน หรือคะแนน)
สามารถส่งอีเมล์มาหาอาจารย์หรือโพสไว้ที่ความคิดเห็นของประกาศนี้ค่ะ
*หากเป็นกรณีเร่งด่วน สามารถดูวิธีติดต่ออาจารย์ซึ่งติดไว้ที่หน้าห้องทำงานค่ะ

แจ้งข่าวเรื่อง "ติวเนื้อหา ชินโต เซน และพุทธศาสนามหายาน"

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ไม่ว่าคุณจะเรียนปรัชญาหรือศาสนา ถ้าต้องการรวมกลุ่มติวเนื้อหาปรัชญา/ศาสนา กลุ่ม ชินโต พุทธศาสนานิกายเซน และมหายาน

มาเจอกันที่ข้างห้องสมุดจอห์น เอฟฯ (ตึกเก่า)
ในวันจันทร์ที่ 17 เวลา 19.30 น. - 21.00 น.
โดยในวันจันทร์จะเริ่มติวเรื่องชินโตก่อน (อ่านบทความข้างล่างด้วยก็ดีนะคะ)

เตรียมคำถามที่สงสัย และ อย่าลืมเอาเอกสาร/ชีตของตัวเองมาด้วย(สมุด ปากกา ยางลบ ขนม อาหารการกินตามสะดวก แต่ต้องเอามาเผื่ออาจารย์ด้วย)จะไปช่วยติวให้ก่อนสอบค่ะ...
อย่าพลาด!!! โอกาสดีมีหนเดียว

*ใหม่ล่าสุด เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง "ชินโต"


สามารถอ่านบทความเรื่อง "ชินโต : ศาสนาแห่งความงาม ธรรมชาติ ความรักและความศรัทธา"

เขียนโดยอาจารย์อันธิฌา ทัศคร ได้ในเว็บบล็อกนี้นะคะ ต้องการอ่านฉบับเต็ม


วัฒนธรรมทางความคิดของประเทศญี่ปุ่น เป็นผลมาจากความเชื่อความศรัทธาในศาสนาและปรัชญาสามกลุ่มหลัก ได้แก่ ขงจื๊อ พุทธศาสนา และชินโต[1] ญี่ปุ่นรับเอาลัทธิขงจื๊อมาจากประเทศจีนโดยตรง พุทธศาสนาแม้จะมีรากฐานมาจากประเทศอินเดียแต่พุทธศาสนาที่เผยแพร่มาถึงญี่ปุ่นเป็นรูปแบบที่ได้รับการผสมผสานกับปรัชญาเต๋าและถูกปรับเปลี่ยนจากประเทศจีนมาก่อนแล้ว ส่วนชินโตนั้นกล่าวได้ว่าเป็นทรัพย์ทางปัญญาที่ถือกำเนิดในดินแดนญี่ปุ่นเอง สำหรับศิลปะ แม้จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในวงวิชาการว่าพุทธศาสนานิกายเซนได้ให้อิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่างๆของประเทศนี้ แต่การเว้นที่จะกล่าวถึงชินโต อันเป็นปรัชญาความเชื่ออีกกระแสหนึ่งซึ่งแฝงอยู่ในวิถีคิดของชาวญี่ปุ่นควบคู่กัน คงจะทำให้การกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่นไม่ครบถ้วนรอบด้านเท่าที่ควร

ผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชินโตและศิลปะ โดยแบ่งบทความออกเป็นสองตอนซึ่งแต่ละตอนจะจบสมบูรณ์ในตัวเอง ในบทความนี้ถือเป็นตอนแรกซึ่งจะนำเสนอประวัติความเป็นมาของชินโต ความสำคัญของลัทธินี้ที่เราสามารถพบเห็นร่องรอยหลักฐานได้ในทุกสิ่งทุกอย่างของความเป็นญี่ปุ่น แม้ในปัจจุบันสิ่งที่กล่าวมาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปนัก และในฉบับต่อไปจะนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาความคิดชินโตที่ส่งผ่านไปสู่งานศิลปะ รวมถึงลักษณะเด่นของงานศิลปะที่อยู่ภายใต้อิทธิพลแนวคิดแบบชินโตค่ะ...
[1] โจเซฟ แกร์, 2522, หน้า 96.

กิจกรรมถามตอบเรื่องพุทธศาสนานิกายเซน

วิชาศาสนาในจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 1/50
คำถามทั้งหมดมี 12 ข้อ ดังนี้ค่ะ
(1) "ซาโตริ" กับ "การตรัสรู้" เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
(2) การฝึกฝนของเซนจะบรรลุธรรมได้ ผู้ฝึกฝนต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และถ้ามีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วจะช่วยให้สามารถบรรลุธรรมได้อย่างไร
(3) การที่ศิษย์ได้ทำการมอนโด (ถาม-ตอบ) กับอาจารย์หรือกับศิษย์ด้วยกันเองนั้น เป็นการกระทำเพื่ออะไร
(4) คุณลักษณะแห่งเซนมีสี่ข้อ มีข้อไหนที่สำคัญที่สุด เพราะเหตุใดจึงสำคัญที่สุด
(5) ด้วยเหตุใดมรรควิถีของเซนจึงไม่ได้อาศัยคัมภีร์หรืออิงกับคำสอนที่ตายตัว
(6) แก่นแท้ของเซนคืออะไร
(7) ในคำกลอนที่กล่าวว่า " หมายความว่าอย่างไร
(8) โตกุซัน ตรัสรู้ได้อย่างไร
(9) ประสบการณ์แห่งเซนคืออะไร
(10) ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงให้การยอมรับนับถือนิกายเซนเป็นอย่างสูง
(11) รหัสนัยมีความหมายว่าอย่างไร
(12) จุดมุ่งหมายของเซนคืออะไร

- - อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่ค่ะ - -

กระทู้แนะนำ - เรียนเอาเกรด หรือ เรียนเอาความรู้?


หลังจากสอบเสร็จ... แล้วก็มานึกกับตัวเอง ว่านี่คือ หนทางของการเรียนรู้จริงหรือ
----------------------------------------------------------
ย้อนไปเมื่อ 10 ชม. ก่อน ขณะที่กำลังเร่งอ่านหนังสืออย่างเร่งรีบ เพราะต้องสอบในอีกไม่กี่ชั่วโมง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ที่เริ่มเรียนวิชานี้มาไม่เคยคิดจะอ่านหนังสือเลยสักครั้ง พอถึงห้องสอบ ก็ประมวลความคิดรวบยอด จากสมองอันน้อยนิด เขียนคำตอบให้ตรงประเด็น ชัดเจนที่สุด ส่งข้อสอบ
-----------------------------------------------------------
หลังจากสอบเสร็จเวลาผ่านไปไม่กี่นาที ตระหนักว่า เหมือนตัวเองทำข้อสอบได้ แต่ไม่ใช่เพราะความอัจฉริยะของตัวเอง แต่เพราะอ่านๆจำๆมาสอบ แล้วข้อสอบก็ออกมาตามที่อ่าน ซึ่งเป็นอย่างนี้มาตลอด เป็นเหมือนกันทุกวิชา เนื่องจากข้อสอบก็ถามมาตรงๆ แล้วเจ้าก็สาธยายมาเถิด มันอาจเป็นความผิดพลาดของอาจารย์หรือเปล่าที่ออกข้อสอบตรงเกินไป หรือระบบการศึกษาของประเทศไทยที่ยังไม่เน้นการคิดวิเคราะห์ หรือตัวเราเองที่ไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อย่างจริงจัง ทำให้การเรียนในมหาวิทยาลัยเหมือนเรียนเอาเกรด ไม่ได้เรียนเอาความรู้ เพราะไม่มีความรู้อะไรเท่าไหร่ในสมอง เพราะทันทีที่สอบเสร็จ สิ่งที่อ่านมาก็ค่อยๆเลือนลบไปจากสมอง เพราะเป้าหมายของการทำข้อสอบ คือ ได้คะแนนดีๆ เพื่อให้ได้เกรดดีๆ เมื่อสอบเสร็จแล้วที่อ่านมาจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป หลังจากสอบจึงเห็นกองชีท ยับยู่ยี่ กองสุมกันอย่างไร้ค่า ทั้งที่ก่อนหน้านี้ราวกับว่ามันเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ช่วยฉุดให้นักศึกษาเหล่านี้ขึ้นจากการจมน้ำ
-----------------------------------------------------------
กลับมาสู่คำถาม นี่คือ หนทางของการเรียนรู้จริงหรือ เหมือนจิตสำนึกบอกเราว่า ไม่ใช่ และกำลังทำผิดมหันต์ กำลังจมสู่ทรายดูด และคนอื่นก็อาจโดนดูดจนมิดหัวไปแล้ว ด้วยเวลาที่อยู่ในรั้วมหาลัยมาครึ่งกับอีกค่อน คาดเดาได้ว่าเมื่อเรียนจบมาคงเกิดอาการ "โหวง" โหวง ว่า แท้จริงแล้วตัวเรานั้นไม่รู้อะไรเลย ไม่เก่งอะไรเลย ทำอะไรเป็นอะไรเลย และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตที่เหลืออยู่
-----------------------------------------------------------
ขอต้อนรับสู่วงจร เกาะพ่อแม่กิน
อ่านกระทู้นี้ - - คลิกที่นี่ - -

กระทู้แนะนำ : สาขาปรัชญาเรียนจบแล้ว ไปทำงานอะไรได้มั่งครับนอกจากเป็นอาจารย์


ใครสงสัย มีคำถามแบบนี้อยู่ในใจ ใคร่ได้คำตอบ แนะนำไปอ่านกระทู้นี้ค่ะ - - คลิกอ่านกระทู้ที่นี่ - -

เด็กไม่มีศาสนา ฤๅจะเป็นทางออกยุค...หมดศรัทรา

หนุ่มน้อยวัย 22 ปี "เบิร์ด" นักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ที่เปิดอกคุยว่า "ผมไม่มีศาสนาครับ" เบิร์ดขยายความต่อถึงที่มาที่ไปและความคิดที่ทำให้เขาอยู่ในกลุ่มนี้ว่า ในโลกนี้มีศาสนาหลายศาสนา รวมถึงลัทธิต่างๆ ถ้าเรานับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง นั่นหมายความว่า ศาสนาที่เหลือไม่ดีหรืออย่างไร นั่นจึงทำให้เบิร์ดคิดว่า ศาสนาก็เป็นเพียงวัฒนธรรมหนึ่ง เป็นเพียงหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิต ที่ช่วยให้คนเราสามารถดำรงอยู่ภายใต้ความถูกต้องของสังคม อ่านบทความ>>
เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นกับบทความนี้ค่ะ

ทำไมจึงต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อ่านพระบรมราโชวาทเรื่อง "การใช้ภาษาไทย"

พระบรมราโชวาท

'ท่านทูตคงกลุ้มใจว่า คนที่ไปอยู่ต่างประเทศเพียงไม่กี่วันหรือไม่นาน กลับมาพูดภาษาไทยไม่ได้ เพราะว่านึกว่าไปต่างประเทศนั้น ต้องไปเรียนรู้ความเป็นไม่เป็นไทย ดังนั้นก็เห็นใจท่าน เพราะว่าท่านเป็นทูต คนที่ไปต่างประเทศไม่กี่วัน แล้วก็ไปพบกับท่านทูต พูดภาษาไทยไม่ได้ แต่ว่าต่างประเทศ ฝรั่งไปพบท่านมาเมืองไทยไม่นาน กลับไปพูดภาษาไทยได้ อันนี้ก็ชอบกล ประหลาดมาก แต่ว่าต้องเข้าใจว่าคนที่ไม่ได้ไปต่างประเทศ แต่ก็ได้มีโอกาสไปต่างประเทศ เขามีปมด้อย คนไทยนั้นส่วนใหญ่ไม่มีปมด้อย ที่เห็นคนไทยมีความภูมิใจที่เป็นคนไทย เพราะว่าอยู่เมืองไทย เป็นคนไทย เขาสามารถศึกษาว่าเมืองไทย คนไทยมีความดี แต่ผู้ที่ไปต่างประเทศนึกว่า เราก็พูดอย่างเดียวกับพวกที่ไปเมืองฝรั่ง ไม่ใช่พวกที่ไปเมืองแขกหรือว่าเมืองจีน เพราะว่าเห่อว่าฝรั่งเขาเจริญ เพราะบ้านเมืองของเขามีความก้าวหน้าหลายอย่าง คนไทยก็เลยมีปมด้อย ว่าเราไม่มีความเจริญ ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าจะทำอย่างไร สำหรับแก้ไข ก็เล่าให้ท่านฟังแล้วว่า ข้าพเจ้ามาเมืองไทยไม่รู้ภาษาไทย แล้วก็ออกไป อายุ 5 ขวบ กลับมาอายุ 11 ก็ไม่ค่อยรู้ภาษาไทย ที่จริงรู้ภาษาไทยก็โดยที่ สมเด็จพระบรมราชชนนี ท่านไม่พูดภาษาฝรั่งกับเรา ท่านพูดภาษาไทย ก็เลยรู้ภาษาไทย แต่เขียนภาษาไทยไม่ค่อยได้ อ่านไม่ค่อยได้ ตอนอายุ 11 ก็ได้เรียน จนกระทั่งอายุ 18 ก็เขียนภาษาไทย อ่านภาษาไทยไม่ค่อยได้ มาอ่านภาษาไทยได้ทีหลัง แต่ก็อยู่ที่ความเป็นไทยนี่ลำบาก ก็พยายามที่จะเรียนภาษาไทย
แต่ผู้ที่ไปหาท่านทูตแล้วพูดภาษาไทยไม่ชัด ส่วนใหญ่เขาก็รู้ภาษาไทย ออกไป2-3วันลืมภาษาไทยแล้ว เพราะว่าเป็นคนที่ไม่ศึกษา วิธีที่จะทำท่านทูตก็คงต้องล้างสมองเขา ประเทศไทยมีภาษาไทยมานานแล้ว มีวัฒนธรรมไทยนานกว่าต่างประเทศในยุโรปหลายประเทศ ก่อนนี้ในต่างประเทศ เป็นยุคที่เขาเรียกว่ามิดเดิ้ลเอจ (middle age) เป็นยุคกลาง ยุคที่ไม่เจริญ เมืองไทยนี้ ยุคกลางของเราเจริญแล้ว ถ้าอยากจะให้แก้ไข เราก็ต้องศึกษายุคกลางของเราว่าเจริญแล้ว แล้วบอกกับพวกที่คิดว่าเมืองไทยไม่เจริญให้เข้าใจ แล้วก็ที่ประเทศไทยมีภาษาไทย มีตัวอักษรไทยมาตั้งแต่สมัยที่เป็นยุคกลางของฝรั่ง ของเราหลายร้อยปีมีภาษา มีตัวอักษร ของฝรั่งไม่มี เราไม่พูดถึงอเมริกา แอฟริกา แต่พูดถึงยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่เจริญ แต่ตอนนั้นไม่ได้เจริญ เราเจริญก่อน แต่ว่าเมืองไทยจะไม่เจริญ เพราะมีคนอย่างพวกที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าเมืองไทยเจริญมานานแล้ว... อ่านบทความ>>

สุนทรียทัศน์ในการมองชีวิต บทบันทึกเพื่อการแสวงหาแง่มุมที่งดงามของชีวิต


เหตุเกิดเนื่องจากในชั่วโมงเรียนวิชาปรัชญาชีวิตสัปดาห์ที่ผ่านมา นักศึกษาได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความประทับใจในชีวิตกันในห้องเรียน... และพวกเราสัญญากันว่าจะนำเอาเรื่องราวเหล่านั้นมาเก็บเป็นความทรงจำดีๆไว้ในเว็บบล็อกนี้
ไปเจอกันได้ที่นี่ค่ะ http://dee-ngam.blogspot.com/
หรือไปที่เมนูหลักด้านซ้ายมือ ดูที่ "สุนทรียทัศน์ในการมองชีวิต" ได้เลย
อยากรู้จักน้องทาทาของอาจารย์ เข้าไปอ่านกันได้ค่ะ...

ปัดฝุ่น…พาคุณเปิดโลกแห่งปรัชญา แนะนำหนังสือ "โลกของโซฟี"


ในภาวะสังคมปัจจุบัน ที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว มนุษย์ส่วนใหญ่ต่างตั้งเป้าหมายในการดำเนินชีวิตไว้เพียงแค่การได้ไปอยู่บนจุดที่สูงสุด เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากวงสังคม แต่จะมีใครเคยลองคิดไหมว่า นั่นคือหน้าที่ที่ถูกบัญชามาให้ปฏิบัติในฐานะมนุษย์จริงหรือ? และอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต?
เชื่อว่าคงมีมนุษย์ส่วนน้อยที่จะตั้งคำถามขึ้นกับตัวเอง เพราะหลายๆ คนอาจจะไม่เคยสนใจในคำตอบของอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่ปฏิบัติตนตามกระแสหรือกรอบที่ตั้งเอาไว้ในยุคสมัยเพียงเท่านั้น “โลกของโซฟี” จึงเป็นหนังสือที่อยากหยิบขึ้นมาปัดฝุ่น เพื่อหวังให้ผู้อ่านพยายามหยุดก้าวไปข้างหน้าเพียงสักระยะ แล้วลองมานับถอยหลังกลับไปดื่มด่ำในประวัติศาสตร์ของจิตใจมนุษย์ เพื่อหาคำตอบแห่งชีวิต เผื่อคำตอบต่างๆ ที่ได้รับรู้ อาจจะเป็นสิ่งที่วิเศษสุดในการก้าวสู่อนาคตของคุณก็เป็นได้
“เส้นทางจินตนาการสู่ประวัติศาสตร์ปรัชญา” ข้อความโปรยในหน้าแรกของวรรณกรรมเยาวชนที่ชื่อ “โลกของโซฟี” บ่งบอกถึงแนวทางของหนังสือเล่มนี้ไว้อย่างชัดเจน จากความยาวกว่า 500 หน้านี้ จะช่วยย้อนประวัติศาสตร์แห่งปรัชญาเมื่อ 2,500 ปีก่อน เพื่อแสวงหาคำตอบของการใช้ชีวิต