GoogleBlog "Art & Philosophy : ศิลปะกับปรัชญา"

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เพื่อใช้เสริมการเรียนการสอน รายวิชา 437-222 สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)

จัดทำโดย อาจารย์อันธิฌา ทัศคร
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

*ใหม่ล่าสุด เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง "ชินโต"


สามารถอ่านบทความเรื่อง "ชินโต : ศาสนาแห่งความงาม ธรรมชาติ ความรักและความศรัทธา"

เขียนโดยอาจารย์อันธิฌา ทัศคร ได้ในเว็บบล็อกนี้นะคะ ต้องการอ่านฉบับเต็ม


วัฒนธรรมทางความคิดของประเทศญี่ปุ่น เป็นผลมาจากความเชื่อความศรัทธาในศาสนาและปรัชญาสามกลุ่มหลัก ได้แก่ ขงจื๊อ พุทธศาสนา และชินโต[1] ญี่ปุ่นรับเอาลัทธิขงจื๊อมาจากประเทศจีนโดยตรง พุทธศาสนาแม้จะมีรากฐานมาจากประเทศอินเดียแต่พุทธศาสนาที่เผยแพร่มาถึงญี่ปุ่นเป็นรูปแบบที่ได้รับการผสมผสานกับปรัชญาเต๋าและถูกปรับเปลี่ยนจากประเทศจีนมาก่อนแล้ว ส่วนชินโตนั้นกล่าวได้ว่าเป็นทรัพย์ทางปัญญาที่ถือกำเนิดในดินแดนญี่ปุ่นเอง สำหรับศิลปะ แม้จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในวงวิชาการว่าพุทธศาสนานิกายเซนได้ให้อิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่างๆของประเทศนี้ แต่การเว้นที่จะกล่าวถึงชินโต อันเป็นปรัชญาความเชื่ออีกกระแสหนึ่งซึ่งแฝงอยู่ในวิถีคิดของชาวญี่ปุ่นควบคู่กัน คงจะทำให้การกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่นไม่ครบถ้วนรอบด้านเท่าที่ควร

ผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชินโตและศิลปะ โดยแบ่งบทความออกเป็นสองตอนซึ่งแต่ละตอนจะจบสมบูรณ์ในตัวเอง ในบทความนี้ถือเป็นตอนแรกซึ่งจะนำเสนอประวัติความเป็นมาของชินโต ความสำคัญของลัทธินี้ที่เราสามารถพบเห็นร่องรอยหลักฐานได้ในทุกสิ่งทุกอย่างของความเป็นญี่ปุ่น แม้ในปัจจุบันสิ่งที่กล่าวมาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปนัก และในฉบับต่อไปจะนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาความคิดชินโตที่ส่งผ่านไปสู่งานศิลปะ รวมถึงลักษณะเด่นของงานศิลปะที่อยู่ภายใต้อิทธิพลแนวคิดแบบชินโตค่ะ...
[1] โจเซฟ แกร์, 2522, หน้า 96.

ไม่มีความคิดเห็น: